A trusted partner for AI&Robotics solutions driven by innovations at scale

Category Highlight

Building a Startups from Big Companies: ธุรกิจเล็ก กลยุทธ์องค์กรใหญ่ ทางเลือกใหม่สู่การแข่งขัน

เรื่อง: สุกฤษฏิ์ บูรณสรรค์ ภาพ: พิชญุตม์ คชารักษ์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในเวลาที่ผ่านมา ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจจนเกิดการปรับตัว ขยับรูปแบบ รวมถึงต้องทำความเข้าใจกับการมาถึงของสิ่งใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว ชนิดที่เรียกว่าถาโถมโหมกระหน่ำกันเข้ามาไม่ขาดสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคสมัยแห่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งการคิดค้นนวัตกรรมหนึ่งอาจกลายเป็นจุดพลิกผันสำคัญ ที่เปลี่ยนกระบวนทัศน์และความเข้าใจของผู้คนจากหน้ามือเป็นหลังมือกันเลยทีเดียว  และแน่นอนว่า สำหรับ ‘องค์กรขนาดใหญ่’ ที่มีรูปแบบการดำเนินงานตายตัว มีกรอบระเบียบแบบแผน ต่างได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลง บางองค์กรรับมือทันทวงที ในขณะทีบางองค์กรก็ไม่ทันตั้งตัว  แต่การเปลี่ยนแกนหลักขององค์กรหรือบริษัทขนาดใหญ่ทั้งองคาพยพ เพื่อสอดรับกับการเลื่อนไหลของความเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้โดยง่าย และถ้ากระทำโดยไม่ระมัดระวัง อาจจะกระเทือนถึงรากฐาน และสร้างความเสียหาย รวมถึงทำลายข้อได้เปรียบทางด้านการแข่งขันที่สั่งสมมาจนหมดสิ้น  เช่นนั้นแล้ว อีกทางเลือกหนึ่งที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน คือการ ‘แตกหน่อ’ ของ ‘บริษัทลูก’ ที่ทำหน้าที่เป็น ‘หัวหอก’ ไปสู่พื้นที่ทางธุรกิจใหม่ ซึ่งมีความคล่องตัว…

ปตท. จับมือ ARV ขับเคลื่อน Net Zero Emission พัฒนานวัตกรรมประเมินการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์พื้นที่ป่าไม้ด้วยเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล

นางกนกพร รอดรุ่งเรือง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) (กลางขวา) ร่วมกับ ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) (กลางซ้าย) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนานวัตกรรมการประเมินการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของป่าไม้ด้วยเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) ระหว่าง ปตท. และ ARV ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน เวลา และแรงงานเมื่อเทียบกับวิธีการประเมินภาคสนามแบบเดิม อีกทั้งมีความน่าเชื่อถือ ผ่านการรับรองการใช้งานจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) และสามารถให้บริการประเมินผลสัมฤทธิ์ของแปลงปลูกป่าอย่างมีมาตรฐานในอนาคต ถือเป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือชี้วัดความสำเร็จในการฟื้นฟูป่า สู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)…

เออาร์วี ทูลเกล้าฯ ถวายโดรนเพื่อการเกษตรอัจฉริยะรุ่นเจ้าเอี้ยง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม พระราชทานพระราชวโรกาสให้ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ทูลเกล้าฯ ถวายโดรนเพื่อการเกษตร รุ่นเจ้าเอี้ยง ซึ่งเป็นนวัตกรรมของบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี เพื่อทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย ทั้งนี้ “โดรนเจ้าเอี้ยง” พัฒนาโดยคนไทย เพื่อคนไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการฉีดพ่นปุ๋ยที่แม่นยำ ลดเวลาการทำงานเเละค่าใช้จ่าย รวมถึงเพิ่มผลผลิต มีจุดเด่นคือ ระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ หรือ Flight Controller ที่ออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน มาตรฐานรักษาความปลอดภัยของข้อมูลระดับสูง

โดรนโชว์แปรอักษร การแสดงแสงสีสุดตระการตา เพื่อสร้างมูลค่าและยกระดับภาพลักษณ์ทางธุรกิจ

ทำความรู้จัก โดรนโชว์แปรอักษร การแสดงแสงสีสุดอลังการ ที่สร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมได้ในวงกว้าง เปิดประสบการณ์ใหม่และสร้างความประทับใจอย่างไม่รู้ลืม เทรนด์ใหม่ในการสร้างตัวตนของแบรนด์ผ่านการแสดงบนท้องฟ้า ปัจจุบันนี้พื้นที่สื่อต่างอัดแน่นไปด้วยโฆษณาจากแบรนด์ต่าง ๆ ที่แข่งขันกันเพื่อแย่งชิงป้ายโฆษณาในทุกตารางนิ้ว ไม่ว่าจะเป็นป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ ไปจนถึงป้ายโฆษณาดิจิตอล LED และการโฆษณาทางทีวี ที่เน้นการเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมาก ซึ่งแนวโน้มจะมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยข้อจำกัดทางพื้นที่ และการแข่งขันที่สูงขึ้น ในขณะที่ผลตอบรับหรือการจดจำแบรนด์ของลูกค้านั้นกลับตกลงสวนทางกัน โดรนโชว์แปรอักษร นวัตกรรมใหม่ ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจได้ในทุกกิจกรรม ขณะที่ทุกแบรนด์เกิดการแย่งพื้นที่สื่อ ช่วงชิงจังหวะเพื่อสร้างการรับรู้ของแบรนด์ นักการตลาดหรือเจ้าของกิจการ ต่างพากันมองหาวิธีแปลกใหม่ ที่ไม่เหมือนใครในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำต่อกลุ่มเป้าหมาย โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดรนแปรอักษร ได้เข้ามาเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจได้ในทุกกิจกรรม และช่วยดึงดูดทุกสายตาโดยรอบให้สนใจ รวมถึงสร้างภาพจำให้กับลูกค้าต่อธุรกิจได้อย่างดีเยี่ยม ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา แบรนด์ระดับโลกรวมถึงงานอีเวนท์สำคัญ ได้ใช้โดรนแปรอักษรเป็นเครื่องมือทางการตลาดได้อย่างน่าทึ่ง…

SKYLLER เปิดตัวโซลูชั่น HighSight แพลตฟอร์มอัจฉริยะควบคุมโดรน

(วันที่ 7 ธันวาคม 2564) SKYLLER เปิดตัวโซลูชั่นอัจฉริยะ HighSight ผสานเทคโนโลยี AI และ Machine Learning ควบคุมสั่งการ Horrus อากาศยานไร้คนขับที่ขับเคลื่อนตนเองอย่างสมบูรณ์แบบครั้งแรกของไทยจาก ARV ได้อย่างไร้รอยต่อ พร้อมชู Total Solution ต่อยอดให้บริการในเชิงพาณิชย์ จับลูกค้าขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในทุกอุตสาหกรรมที่ต้องการโดรนไร้คนขับเพิ่มมูลค่าและประสิทธิภาพการทำงาน ลดความเสี่ยงบุคลากร ประหยัดเวลา ลดต้นทุน และหนุนธุรกิจยืนแถวหน้าในชูลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลง 50% เมื่อเทียบกับการเช่าโดรน จ้างนักบิน เห็นผลคุ้มทุนใน 1 ปี ตั้งเป้ารายได้ 100 ล้านบาท ในปี 2565  ดร. ศิวัตม์ สายบัว CEO & Co-Founder บริษัท สไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด หรือ SKYLLER ผู้นำด้านการพัฒนา และให้บริการตรวจสอบอุตสาหกรรมและโครงสร้างด้วยโดรนและระบบ AI หนึ่งหน่วยธุรกิจภายใต้ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV ในเครือบริษัท ปตท.สผ. เปิดเผยว่า “SKYLLER ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชันอัจฉริยะที่นำ AI และMachine Learning (ML) มาใช้ทำงานร่วมกับอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือ โดรนและหุ่นยนต์รูปแบบอื่น ๆ เพื่อแก้ไขข้อจำกัดของธุรกิจต่างๆ…

VARUNA-Samsung จัดโครงการ“อบรมทักษะการบินโดรนแก่เกษตรกร” พลิกโฉมเกษตรกรรมไทยสู่ยุคสมาร์ทฟาร์ม

บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด หรือ VARUNA ผู้นำด้านการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยภายใต้เครือ เอไอ แอนด์ โรโบติกส์เวนเจอร์ส หรือเออาร์วี (ARV) จับมือบริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด สร้างสรรค์โครงการเพื่อสังคม “ARV x Samsung CSR Collaboration Project” มุ่งยกระดับขีดความสามารถการเกษตรไทยก้าวสู่ยุคสมาร์ทฟาร์มนำร่องด้วยกิจกรรม “อบรมทักษะนักบินอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร”  แก่เกษตรกรไทยรุ่นใหม่ สร้างสังคมการเกษตรอัจฉริยะ เสริมทักษะด้านเทคโนโลยี และสร้างอาชีพ มุ่งยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเกษตรกรรมไทย ที่เปรียบเหมือนกระดูกสันหลังของประเทศให้เข้มแข็งและยั่งยืน ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) ผู้นำด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ในเครือบริษัท ปตท.สผ. เปิดเผยว่า “เออาร์วี มีความมุ่งมั่นในการสร้างศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ ด้วยการยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจผ่านการขับเคลื่อนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์  โดยภาคการเกษตรนับเป็นมิติใหญ่ที่สำคัญมากในระบบเศรษฐกิจของประเทศที่ต้องเร่งผลักดันการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับให้กลายเป็นการเกษตร 4.0 และเป็นเสมือนหนึ่งเส้นเลือดใหญ่ที่สำคัญของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ด้วยเหตุนี้เออาร์วีได้จัดตั้งบริษัทย่อยอย่าง บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด หรือ VARUNA เพื่อบุกเบิกนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรกรรมแม่นยำ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก  การส่งเสริมการผลิต เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าการเกษตรได้สูงขึ้น รวมถึงการให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในแง่ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และป่าไม้ได้อย่างยั่งยืน พณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด หรือ VARUNA กล่าวว่า ”หนึ่งในเทคโนโลยีที่วรุณามีความภาคภูมิใจคือการนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Drone) มาใช้ในภาคเกษตรกรรมซึ่งถือเป็นเทคโนโลยี ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกรในแง่ของสุขภาพ เพราะลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมี ทั้งยังช่วยลดความเสียหายของพืช และเพิ่มศักยภาพในการทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น การฉีดพ่นก็ทำได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ไม่มีส่วนที่พ่นซ้ำเนื่องจากโดรนจะจับพิกัดของจุดที่ฉีดพ่นได้อย่างแม่นยำ จึงประหยัดการใช้น้ำ รองรับการฉีดพ่นพื้นที่แปลงใหญ่ และช่วยเพิ่มผลผลิตได้ดียิ่งขึ้น”  “โดยหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากในการประกอบอาชีพนักบินโดรนเกษตรก็คือสมาร์ทดีไวซ์ (Smart Devices) เพราะนอกจากการใช้รีโมทเพื่อควบคุมทิศทางเเล้ว การมี Smart device  ที่มีขนาดหน้าจอที่เหมาะสมเเละมีระบบประมวลผลที่รวดเร็ว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของนักบินโดรนเกษตรอย่างชัดเจน เช่น การวาดตำแหน่งแปลง การวางแผนเเละตั้งค่าต่างๆก่อนขึ้นบิน การติดตามสถานะต่างๆขณะทำการบิน รวมถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที ซึ่งถือเป็นการเพิ่มความปลอดภัย เเละความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อคุณภาพงานฉีดพ่นเเละการรับรู้รายได้ของนักบินโดรนเกษตร” พณัญญากล่าวเสริม “ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ จึงได้ร่วมมือกับผู้ผลิตสมาร์ทดีไวซ์ระดับโลกอย่าง บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด (Samsung) ทำโครงการเพื่อสังคม ARV x Samsung CSR Collaboration Project ให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมกับกลุ่มเกษตรกรเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีให้เกษตรกรสามารถจัดการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) สร้างประโยชน์ให้กับตนเองและชุมชนในลำดับต่อไป นำร่องด้วยกิจกรรม “Varuna Drone Pilot Training” อบรมทักษะนักบินอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร แก่เกษตรกรไทยยุคใหม่ด้วยแนวคิด “ติดปีก เสริมทักษะ ส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะไทย” โดยมีการเริ่มนำร่องจัดฝึกอบรมแล้วในพื้นที่องค์กรบริการส่วนตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี   ซึ่งมีการให้ความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตั้งแต่ส่วนประกอบของโดรน การใช้งานโดรน การซ่อมแซม วิธีการบังคับ รวมถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องรู้ก่อนทำการบิน และการฝึกบังคับเบื้องต้นด้วยโปรแกรมจำลองการบินโดรน เพื่อเตรียมตัวบังคับโดรนการเกษตรในสนามจริง และเมื่อผ่านการอบรมจะได้รับเกียรติบัตรจบหลักสูตร สามารถนำความรู้ไปช่วยบริหารจัดการแปลงเกษตรของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสร้างรายได้จากการรับจ้างดูแลจัดการแบบการเกษตรอื่นได้อีกด้วย” พณัญญาสรุป ปารมี ทองเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด (Samsung) เปิดเผยว่า “ภาคการเกษตรของไทยยังคงมีศักยภาพและความเข้มแข็งไม่น้อย เนื่องจากศักยภาพของพื้นที่การเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์ สินค้าการเกษตรที่หลากหลายมีคุณภาพดี การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการผลิตจะยิ่งส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถของภาคการเกษตรไทยให้แข็งแกร่งและยั่งยืนได้ ซัมซุงในฐานะผู้นำนวัตกรรมระดับโลก และผู้พัฒนาสมาร์ทดีไวซ์ (Smart Devices) บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ได้เล็งเห็นว่าวรุณาได้พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องการเกษตรสมัยใหม่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เช่นเดียวกัน จึงมีความตั้งใจที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากทั้งสองฝ่ายมาผนึกกำลังกันในกิจกรรม “Varuna Drone Pilot Training” ด้วยการมอบอุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Devices) ได้แก่ อุปกรณ์แท็บเล็ต รุ่น Galaxy Tab A 8.0 จำนวน 23 เครื่อง และสมาร์ทโฟน รุ่น Galaxy S10+ จำนวน 30 เครื่อง สำหรับใช้ในกิจกรรมตามแผนการดำเนินโครงการฯ ด้วยจุดประสงค์ต้องการส่งเสริมการเข้าถึงและนำเทคโนโลยีใหม่ ที่สามารถใช้ในการสร้างนวัตกรรม ที่สามารถสร้างมูลค่า พัฒนาศักยภาพเกษตรกร วางรากฐานความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย พร้อมช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมในองค์รวม”   สำหรับหน่วยงานที่ต้องการร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ หรือชุมชนที่สนใจฝึกอบรมทักษะนักบินอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตรใน กิจกรรม “Varuna Drone Pilot Training” สามารถติดต่อแจ้งความสนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่https://www.facebook.com/varunatech หรือ Line @VarunaTech โดยทางบริษัทมีความยินดีในการจัดฝึกอบรมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถชมคลิปบรรยากาศการอบรมได้ที่ 

ARV เผยโฉม “Horrus” โดรนขับเคลื่อนอัตโนมัติ ครั้งแรกของไทย! ตอบโจทย์ภาคอุตฯ

ธนา สราญเวทย์พันธุ์ General Manager, บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) ผู้นำด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ในเครือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า พันธกิจที่สำคัญของ ARV ในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชั้นสูงสำหรับสนับสนุนกิจกรรมการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับ ปตท.สผ. และต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ  อาทิ ภาคเกษตรกรรม กลุ่มธุรกิจก่อสร้างและกลุ่มธุรกิจพลังงาน ซึ่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และหุ่นยนต์ (Robots) ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเศรษฐกิจของไทย เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน…

PTTEP เขย่างบฯ 4 แสนล้าน ลงทุนปั้นพอร์ตธุรกิจใหม่

ที่ผ่านมา ปตท.ประกาศแผนการลงทุน 5 ปี ด้วยงบประมาณ 8.65 แสนล้าน ซึ่งจัดสรรงบฯสัดส่วน 50% หรือประมาณ 4.325 ล้านกับลูกคนโต “บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม” หรือ ปตท.สผ. หรือ PTTEP ระหว่างปี 2564-2568 ภายใต้การนำของ “มนตรี ลาวัลย์ชัยกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ที่ก้าวมารับตำแหน่งเมื่อ 1 ตุลาคม 2564 ท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทายช่วงการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน ทั้งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การดำเนินการตามหลัก ESG หรือ environmental social governance การปรับสู่พลังงานหมุนเวียน และการสร้างสรรค์พลังงานรูปแบบใหม่ในอนาคต มนตรีเปิดเผยวิสัยทัศน์การสร้างการเติบโตให้ ปตท.สผ. ภายใต้แนวคิด “energy new normal” โดยวางแนวทางการดำเนินธุรกิจ…

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ.

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. หรือ PTIC (PTTEP Technology and Innovation Center) ณ วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง  PTIC ก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้ประโยชน์จริงในเชิงพาณิชย์ ทั้งในอุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมอื่น ๆ การพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี และการส่งเสริมความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และหน่วยงานในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ภายใน PTIC ประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อให้นักวิจัยสามารถประเมินประสิทธิภาพ ปรับปรุงแก้ไขผลงานก่อนนำไปใช้งานจริง อาทิ อาคารทดสอบต้นแบบ สนามทดสอบอากาศยานไร้คนขับ ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ศูนย์ฝึกอบรมและพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอุปกรณ์และเมืองอัจฉริยะ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก และศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมที่พร้อมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาร่วมกับองค์กรภาครัฐ เอกชน เอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ และส่งเสริมให้พันธมิตรสามารถใช้ประโยชน์จาก PTIC เพื่อร่วมผลักดันนวัตกรรมแห่งอนาคตไปด้วยกัน